POSTED BY IDIN9 SUPPORT ON 5-25-2024
T 601 BIM กับ Decarbonization in construction
จบไปแล้วสำหรับงานวิศวกรรมแห่งชาติ 2023 ปีนี้นับว่าเทรนของเรื่อง Sustainable เป็นเทรนที่กำลังมาแรงมาก หัวข้อเกี่ยวกับ Climate change Decarbonization Carbon credit. มีผู้ฟังกันล้นหลาม เเอาเป็นว่า วิทยากรเก่งๆจากองค์การก๊าซเรือนกระจกท่านหนึ่งบอกแอดมินว่า ท่านมาบรรยาย เช้าบ่าย 3 วันเลย แสดงว่าคนสนใจมาก ตัวบุคคลรู้เรื่องเหล่านี้ยังน้อยมากที่จะมาถ่ายทอดได้
ส่วนตัวแอดมินปีนี้ก็ตามฟังหัวข้อสัมมนาเกี่ยวกับเรื่องนี้ในทุกโอกาสที่ว่าง ฟังแล้วขอบ่นดังๆถึงองค์กรที่รับผิดชอบว่าถ้าการสนับสนุนของท่านยังแบบนี้ยากที่อุตสาหกรรมทั้งประเทศจะพึ่งพาท่านได้เพราะเทคโนโลยี่ท่านที่ใช้มันยังอนาล๊อกเหลือเกิน การจัดระบบข้อมูลที่จะหาข้อมูลจากสินค้าที่ลงเผยแพร่ไว้ยังไม่มีเรื่องการสร้างฐานข้อมูลที่ตรงกับรหัสอุตสาหกรรมของโลกเลย
องค์ความรู้ในเรื่องการคำนวน Carbon footprint ไม่ได้ลึกซึ้งอะไรมาก(ไม่เหมือนการจะลดคาร์บอน) เรื่องที่ต้องทำอันแรกๆคือเราจะจัดหมวดหมู่ข้อมูลอย่างไรให้คนเข้าถึงได้นั้นคือเรื่องสำคัญ ตรงนี้คือโอกาสของชาวBIM ที่เข้าใจเรื่อง Classification (เข้าใจตรงกันน่ะ)
ขอเขียนบทความนี้เพื่อบอกว่าเพจนี้ยังเป็นเพจ BIM เหมือนเดิมแต่ปีหน้านี้จะเอาเรื่องการจัดการเกี่ยวกับ Climate change มาให้เจ้า BIM Process ช่วยจัดการให้เพิ่มขึ้น ก่อนอื่นขอมาว่าถึงความรู้ที่ฟังมา 3 วันแล้วค้นเพิ่มเล่าให้ฟังกันก่อน
ปัจจุบันนี้มีมาตรฐานหลายรูปแบบที่ใช้ทั่วโลกในการคำนวณCarbon footprint มาตรฐานเหล่านี้ให้แนวปฏิบัติและวิธีการในการวัดและรายงานการปล่อยก๊าซเรือนกระจก มีมาตรฐานที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางทั้งหมด ได้แก่:
1. Green house gas protocol (GHGP): พัฒนาโดย World Resources Institute (WRI) และ World Business Council for Sustainable Development (WBCSD) GHGP เป็นมาตรฐานที่ใช้ในงานวัดและรายงานการปล่อยก๊าซเรือนกระจกขององค์กรธุรกิจ มีข้อแนะนำสำหรับการปล่อยก๊าซโดยตรง (Scope 1) และการปล่อยก๊าซอ้อม (Scope 2 และ Scope 3)
2. ISO 14064: เป็นมาตรฐานที่พัฒนาโดยองค์การมาตรฐานสากล (ISO) ใช้เป็นกรอบแนวทางให้กับองค์กรในการจำนวน ติดตาม และรายงานการปล่อยก๊าซเรือนกระจก มี 3 ส่วน:
ส่วนที่ 1 ยึดหลักและข้อกำหนดในการออกแบบและปฏิบัติการ;
ส่วนที่ 2 ให้คำแนะนำในการตรวจยืนยันและการให้การสนับสนุนสำหรับการลดก๊าซเรือนกระจก
ส่วนที่ 3 ให้คำแนะนำในการเตรียมการโครงการเรื่องก๊าซเรือนกระจกและการปริมาณการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
3. โครงการเปิดเผยการประมูลโครงการ (CDP): เป็นองค์กรนอกฝรั่งเศสที่พัฒนาแพลตฟอร์มการเปิดเผยสิ่งแวดล้อมที่ใหญ่ที่สุดในโลก สร้างความตกลงกันระหว่างสถานประกอบการและเมืองในการวัด การจัดการ และการเปิดเผยผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมของพวกเขา CDP ให้แบบสอบถามมาตรฐานแก่องค์กร รวมถึงการปล่อยก๊าซเรือนกระจก การใช้น้ำ และความเสี่ยงและโอกาสทางสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับภูมิอากาศ
ส่วนตัวคิดว่าอนาคตจะมีความซับซ้อนในการทำนายว่ามาตรฐานที่จะได้รับการยอมรับทั่วโลกคือฉบับไหน จากดารศึกษาแนวโน้มกำลังเป็นไปในทิศทางของมาตรฐานจะร่วมกันและการประสานความสอดคล้องของวิธีการคำนวณ Carbon footprint ร่วมกัน โดยในสากลมีความพยายามในการผสมผสานและประสานมาตรฐานต่าง ๆ เหล่านี้เพื่อลดความไม่สอดคล้องและเพิ่มความเป็นอันเดียวกัน
อีกทั้งการพัฒนาเทคโนโลยี การเกิดขึ้นของการใช้เทคโนโลยี BIM ที่ MODEL มีทั้ง LOG และ LOI จะช่วยในการรวบรวมข้อมูลอย่างมากตั้งแต่ 3D-7D
สำคัญที่จะอัพเดตข้อมูลเกี่ยวกับการพัฒนาในองค์ความรู้ด้าน BIM นี้อย่างไรให้สามารถเข้าถึงการรวบรวม การลด การชดเชยคาร์บอนและGreen house gas อันนี้น่าสนใจครับ
ทศพร ศรีเอี่ยม
ผู้อำนวยการสถาบันBIM ในวสท
5/11/666
Credit
• เอกสารของวิทยากรจากงานวิศวกรรมแห่งชาติ 2023
• ppt BIM and De-carbonization ,วิศวกรรมแห่งชาติ 2023